|
ประวัติ พระพุทธเจ้า เจ้าชายสิทธัตถะ |
|
 |
|
|
พระโคตมพุทธเจ้า (Gautama Buddha) หรือมักนิยมเรียกเพียง พระพุทธเจ้า หรือนามเดิมคือ เจ้าชายสิทธัตถะ
เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช
จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน
ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสต์กาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย
และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล |
|
ในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศอินเดียและเนปาล ถือกันว่าพระองค์มีเชื้อชาติอริยกะ หรือชาติผู้เจริญ และเป็นชาวชมพูทวีป
(สมัยนั้นยังไม่มีประเทศอินเดีย และเนปาล)พระองค์ประสูติในฐานะเจ้าชายแห่งแคว้นศากยะ (สักกะ)
ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ โคตมะ แต่ได้ออกผนวชและทรงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา |
|
ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าของเราได้ทำความดี(บารมี)มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน (ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า
ท่านถูกเรียกว่า พระโพธิสัตว์) พระชาติอื่น ๆ ที่ชาวพุทธรู้จักกันดี ได้แก่ พระเวสสันดร พระเตมีย์ พระมหาชนก เป็นต้น
พระพุทธเจ้า หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย |
|
|
คำกล่าวเรียกพระพุทธเจ้า |
|
พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิฐาน เมตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า |
|
* อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย |
|
* สิทธัตถะหมายถึง ท่านผู้ที่มีความเพียรพยายาม เมื่อต้องการสำเร็จ เป้าหมายที่ประสงค์จะทำ |
|
* พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ |
|
* ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย ๘ อย่างคือ |
พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น |
พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น |
พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ |
พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น |
พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น |
พระผู้ตรัสอย่างนั้น |
พระผู้ทำอย่างนั้น |
พระผู้เป็นเจ้า |
|
ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต |
|
ธรรมกาย หมายถึงท่าน ผู้มีธรรมในกาย |
|
ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม |
|
ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม |
|
ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม |
|
ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า |
|
บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู |
|
พระผู้มีพระภาคเจ้า |
|
พระพุทธเจ้าหมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ |
|
พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง |
|
พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ |
|
ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม |
|
มหาสมณะ |
|
โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก |
|
สยัมภู,พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน |
|
สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง |
|
พระสุคต,พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว |
|
|
|
พระนามของพระพุทธเจ้า |
|
ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้ |
|
ซึ่ง 28 พระองค์นี้ 3 พระองค์แรก คือ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า และ พระสรณังกรพุทธเจ้า
ไม่ได้พยากรณ์แก่พระโคตมพุทธเจ้าสมัยยังเป็นพระโพธิสัตว์
แต่เพิ่งจะได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกจากพระทีปังกรพุทธเจ้า
จึงนับพระทีปังกรเป็นพระองค์ที่ 1 ในพุทธวงศ์ |
|
พระพุทธเจ้าทั้ง ๒๕ พระองค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบ และ
พระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับคำพยากรณ์ ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรานิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
โดยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์" |
|
*** พระตัณหังกรพุทธเจ้า |
*** พระเมธังกรพุทธเจ้า |
*** พระสรณังกรพุทธเจ้า |
1. พระทีปังกรพุทธเจ้า |
2. พระโกณฑัญญพุทธเจ้า |
3. พระมังคลพุทธเจ้า |
4. พระสุมนพุทธเจ้า |
5. พระเรวตพุทธเจ้า |
6. พระโสภิตพุทธเจ้า |
7. พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า |
8. พระปทุมพุทธเจ้า |
9. พระนารทพุทธเจ้า |
10. พระปทุมุตตรพุทธเจ้า |
11. พระสุเมธพุทธเจ้า |
12. พระสุชาตพุทธเจ้า |
13. พระปิยทัสสีพุทธเจ้า |
14. พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า |
15. พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า |
16. พระสิทธัตถพุทธเจ้า |
17. พระติสสพุทธเจ้า |
18. พระปุสสพุทธเจ้า |
19. พระวิปัสสีพุทธเจ้า |
20. พระสิขีพุทธเจ้า |
21. พระเวสสภูพุทธเจ้า |
22. พระกกุสันธพุทธเจ้า |
23. พระโกนาคมนพุทธเจ้า |
24. พระกัสสปพุทธเจ้า |
25. พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) |
|
|
|
แบ่งตามกัป |
|
การนับอสงไขยในที่นี้ จะนับอสงไขยแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี
โดยการอธิษฐานในใจต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก |
|
กัปแรกในต้นอสงไขยที่ 17 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ |
1. พระตัณหังกรพุทธเจ้า |
2. พระเมธังกรพุทธเจ้า |
3. พระสรนังกรพุทธเจ้า |
4. พระทีปังกรพุทธเจ้า |
|
|
กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 18 เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ |
1. พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า |
|
|
กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 19 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ |
1. พระสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า |
2. พระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
3. พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
4. พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
|
กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 20 เป็นสารวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ |
สมเด็จพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า |
สมเด้จพระปทุมะสัมพุทธเจ้า |
สมเด็จพระนารทะสัมพุทธเจ้า |
|
ช่วงเศษแสนมหากัป ของ อสงไขยปัจจุบัน |
|
|
กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์. |
บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป. |
|
1. พระปทุมมุตระพุทธเจ้า |
|
สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป |
|
|
มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ |
1. พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า |
2. พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
สูญกัป 60,000 กัป |
|
วรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ |
1. พระปียทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า |
2. พระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า |
3. พระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
สูญกัป 24 กัป |
|
|
สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ |
1. พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
สูญกัป 1 กัป |
|
|
มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ |
1. พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
2. พระมหาปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
|
สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ |
|
1. พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
สูญกัป 60 กัป |
|
|
มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ |
1. พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า |
2. พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
สูญกัป 30 กัป |
|
กัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ |
1. พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
2. พระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า |
3. พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า |
4. พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) |
5. พระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
|
|
ประวัติพระพุทธเจ้า |
|
 |
|
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงประสูติ |
|
พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ โดยในปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล เจ้าชายสิทธัตถะมีพระราชมารดาพระนามว่า
พระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ เจ้าชายสิทธัตถะ
ประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน บริเวณใต้ต้นสาละที่อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ในปัจจุบัน คือ
ตำบลรุมิเด ประเทศเนปาล ในขณะนั้นได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายเอาไว้ว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ
หมายความว่า ถ้าดำรงตนในฆราวาสก็จะได้เป็นจักรพรรดิ แต่ถ้าออกบวชก็จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ในทางตรงกันข้าม
โกณฑัญญะ พราหมณ์ผู้ที่อายุน้อยที่สุดในจำนวนพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ยืนยันหนักแน่นว่า
พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ทันที่ที่ประสูติ
เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ และทรงเปล่งพระวาจาว่า เราเป็นเลิศที่สุดในโลก
ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา |
|
|
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงวัยเด็ก |
|
ภายหลังการประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์
เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้ทรงไปอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
เพื่อเติบใหญ่ขึ้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น คือ ศิลปศาสตร์ จำนวน
18 ศาสตร์ในสำนักครูวิศวามิตร ครั้นพระบิดาไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก
พระองค์จึงพยายามให้เจ้าชายสิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก อาทิ การสร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่อมีพระชนมายุครบ 16 ปี
ก็ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพา หรือนางยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะที่เป็นพระญาติฝ่ายมารดา
จากนั้นต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมาพระชนมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพาก็ได้กำเนิดพระโอรสนามว่า ราหุล (บ่วง) |
|
|
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงเสด็จออกผนวช |
|
เจ้าชายสิทธัตถะได้ตัดสินใจพระทัยออกบวช เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ พระองค์ก็ได้ทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงมีแนวความคิดเกิดขึ้นว่า ธรรมดาในโลกนี้มีของอยู่คู่กัน เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น มีทุกข์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย พระองค์ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงเรื่องมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน วิถีทางที่ช่วยให้พ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้และหนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสารก็จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ สิ่งที่พระองค์พบเห็นเรียกว่า เทวทูต (ทูตสวรรค์) จึงได้ตัดสินพระทัยออกผนวชในวันที่ราหุลน้อยประสูติไม่เท่าไหร่ พระองค์ก็ทรงม้ากัณฐะออกผนวชโดยมีนายฉันทะตามเสร็จ การเดินทางได้มุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ตัดพรเกศา และเป็นเครื่องทรวเป็นผ้าสาสพักตร์ พระองค์ทรงเปลื้องเครื่องทรงแล้วมอบให้นายฉันทะนำกลับพระนคร ซึ่งการออกบวครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (กาเสด็จ) ออกเพื่อคุณอันย่งใหญ่ ต่อมาสิ่งที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชแล้ว จึงมุ่งหน้าตรงไปที่แม่น้ำคย แคว้นมคธ เพื่อเป็นการค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ซึ่งเมื่อเรียนจบทั้งสองสำนักแล้ว ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้ |
|
|
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงตรัสรู้ (15 ค่ำเดือน 6) |
|
ขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดา ได้ถวายข้าวมะธุปายาส (ข้าวที่หุงด้วยนม)
ที่ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยแล้วก็ทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา และได้อธิษฐานเสี่ยงทาย
ต่อมาในเวลาเย็นโสตถิยะถวายหญ้าคา 8 กำมือโดยปูลาดเป็นอาสนะ บริเวณโคนใต้ต้นโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา โดยทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
อีกทั้งพระองค์ยังทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแจ้งแล้ว
จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
|
 |
|
|
 |
|
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงปัจฉิมกาล |
|
เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้เดินทางไปแสดงธรรม ณ ที่ต่างๆ
รวมถึงโปรดพระพุทธบิดาและประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ จากนั้นพระองค์ก็ได้ทรงปลงสังขารก่อนปรินิพานเป็นเวลา 3 เดือน
และช่วงเวลาก่อนปรินิพพานเพียง 1 วัน นายจุนทะ ก็ได้ถวายสุกรมัททวะ (หมูอ่อน) พระพุทธเจ้าได้เสวยจนมีอาการประชวร
พระอานนท์โกรธมาก พุทธองค์จึงทรงตรัสว่า “บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์)
เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ , ปรินิพพาน” นับแต่นั้น พระพุทธองค์ก็ทรงให้โอวาทเรื่อยมาจนมาถึงปัจฉิมโอวาท
และพระพุทธเจ้าก็ทรงดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยานของเหล่ามัลลกษัตริย์
เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา และทรงเทศนาสั่งสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานกว่า 45 ปี |
|
 |
|
|
 |
|
|
ขอบคุณข้อมูล ...... |
http://guru.sanook.com/3937/ |
http://guru.sanook.com/3937/ |
|
http://www.learntripitaka.com/History/Buddhist.html |
http://www.learntripitaka.com/History/Buddhist.html |
|
www.bloggang.com |
www.bloggang.com |
|
https://th.wikipedia.org/wiki |
https://th.wikipedia.org/wiki |
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|