Thailand
www.deenathaishop.com
ภาคเหนือ
เชียงราย
เชียงใหม่
น่าน
พะเยา
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
อุตรดิตถ์
 
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานคร
กำแพงเพชร
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นครสวรรค์
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สิงห์บุรี
สุโขทัย
สุพรรณบุรี
สระบุรี
อ่างทอง
อุทัยธานี
 
ภาคตะวันออก
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ตราด
ปราจีนบุรี
ระยอง
สระแก้ว
 
ภาคตะวันตก
กาญจนบุรี
ตาก
ประจวบคีรีขันธ์
เพชรบุรี
ราชบุรี
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บึงกาฬ
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สุรินทร์
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อำนาจเจริญ
อุดรธานี
อุบลราชธานี
 
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พังงา
พัทลุง
ภูเก็ต
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Flag Counter 
 
 
 

DeeNa Thai Shop

 
 
 
 
Home Product Group Information Relax Time Contact Website

 

ประวัติ พระพุทธเจ้า เจ้าชายสิทธัตถะ

 
 
พระโคตมพุทธเจ้า (Gautama Buddha) หรือมักนิยมเรียกเพียง พระพุทธเจ้า หรือนามเดิมคือ เจ้าชายสิทธัตถะ
เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช
จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน
ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสต์กาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย
และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล
 
ในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศอินเดียและเนปาล ถือกันว่าพระองค์มีเชื้อชาติอริยกะ หรือชาติผู้เจริญ และเป็นชาวชมพูทวีป
(สมัยนั้นยังไม่มีประเทศอินเดีย และเนปาล)พระองค์ประสูติในฐานะเจ้าชายแห่งแคว้นศากยะ (สักกะ)
ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ โคตมะ แต่ได้ออกผนวชและทรงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา
 
ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าของเราได้ทำความดี(บารมี)มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน (ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า
ท่านถูกเรียกว่า พระโพธิสัตว์) พระชาติอื่น ๆ ที่ชาวพุทธรู้จักกันดี ได้แก่ พระเวสสันดร พระเตมีย์ พระมหาชนก เป็นต้น
พระพุทธเจ้า หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
 
 
คำกล่าวเรียกพระพุทธเจ้า
 
พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิฐาน เมตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
 
* อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย
 
* สิทธัตถะหมายถึง ท่านผู้ที่มีความเพียรพยายาม เมื่อต้องการสำเร็จ เป้าหมายที่ประสงค์จะทำ
 
* พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
 
* ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย ๘ อย่างคือ
พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น
พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ
พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น
พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น
พระผู้ตรัสอย่างนั้น
พระผู้ทำอย่างนั้น
พระผู้เป็นเจ้า
 
ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
 
ธรรมกาย หมายถึงท่าน ผู้มีธรรมในกาย
 
ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม
 
ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม
 
ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม
 
ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
 
บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู
 
พระผู้มีพระภาคเจ้า
 
พระพุทธเจ้าหมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
 
พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง
 
พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
 
ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม
 
มหาสมณะ
 
โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก
 
สยัมภู,พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน
 
สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
 
พระสุคต,พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว
 
 
 
พระนามของพระพุทธเจ้า
 
ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้
 
ซึ่ง 28 พระองค์นี้ 3 พระองค์แรก คือ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า และ พระสรณังกรพุทธเจ้า
ไม่ได้พยากรณ์แก่พระโคตมพุทธเจ้าสมัยยังเป็นพระโพธิสัตว์
แต่เพิ่งจะได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกจากพระทีปังกรพุทธเจ้า
จึงนับพระทีปังกรเป็นพระองค์ที่ 1 ในพุทธวงศ์
 
พระพุทธเจ้าทั้ง ๒๕ พระองค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบ และ
พระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับคำพยากรณ์ ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรานิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
โดยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์"
 
*** พระตัณหังกรพุทธเจ้า
*** พระเมธังกรพุทธเจ้า
*** พระสรณังกรพุทธเจ้า
1. พระทีปังกรพุทธเจ้า
2. พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
3. พระมังคลพุทธเจ้า
4. พระสุมนพุทธเจ้า
5. พระเรวตพุทธเจ้า
6. พระโสภิตพุทธเจ้า
7. พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
8. พระปทุมพุทธเจ้า
9. พระนารทพุทธเจ้า
10. พระปทุมุตตรพุทธเจ้า
11. พระสุเมธพุทธเจ้า
12. พระสุชาตพุทธเจ้า
13. พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
14. พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
15. พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า
16. พระสิทธัตถพุทธเจ้า
17. พระติสสพุทธเจ้า
18. พระปุสสพุทธเจ้า
19. พระวิปัสสีพุทธเจ้า
20. พระสิขีพุทธเจ้า
21. พระเวสสภูพุทธเจ้า
22. พระกกุสันธพุทธเจ้า
23. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
24. พระกัสสปพุทธเจ้า
25. พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
 
 
 
แบ่งตามกัป
 
การนับอสงไขยในที่นี้ จะนับอสงไขยแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี
โดยการอธิษฐานในใจต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก
 
กัปแรกในต้นอสงไขยที่ 17 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์
1. พระตัณหังกรพุทธเจ้า
2. พระเมธังกรพุทธเจ้า
3. พระสรนังกรพุทธเจ้า
4. พระทีปังกรพุทธเจ้า
 
 
กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 18 เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
1. พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า
 
 
กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 19 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์
1. พระสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
4. พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 20 เป็นสารวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์
สมเด็จพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า
สมเด้จพระปทุมะสัมพุทธเจ้า
สมเด็จพระนารทะสัมพุทธเจ้า
 
ช่วงเศษแสนมหากัป ของ อสงไขยปัจจุบัน
 
 
กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์.
บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป.
 
1. พระปทุมมุตระพุทธเจ้า
 
สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป
 
 
มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
1. พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
สูญกัป 60,000 กัป
 
วรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์
1. พระปียทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
สูญกัป 24 กัป
 
 
สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
1. พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
สูญกัป 1 กัป
 
 
มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
1. พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระมหาปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
 
1. พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
สูญกัป 60 กัป
 
 
มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
1. พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
สูญกัป 30 กัป
 
กัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
1. พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
4. พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
5. พระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
 
ประวัติพระพุทธเจ้า
 
 
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงประสูติ
 
พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ โดยในปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล เจ้าชายสิทธัตถะมีพระราชมารดาพระนามว่า
พระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ เจ้าชายสิทธัตถะ
ประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน บริเวณใต้ต้นสาละที่อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ในปัจจุบัน คือ
ตำบลรุมิเด ประเทศเนปาล ในขณะนั้นได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายเอาไว้ว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ
หมายความว่า ถ้าดำรงตนในฆราวาสก็จะได้เป็นจักรพรรดิ แต่ถ้าออกบวชก็จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ในทางตรงกันข้าม
โกณฑัญญะ พราหมณ์ผู้ที่อายุน้อยที่สุดในจำนวนพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ยืนยันหนักแน่นว่า
พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ทันที่ที่ประสูติ
เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ และทรงเปล่งพระวาจาว่า เราเป็นเลิศที่สุดในโลก
ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา
 
 
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงวัยเด็ก
 
ภายหลังการประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์
เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้ทรงไปอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
เพื่อเติบใหญ่ขึ้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น คือ ศิลปศาสตร์ จำนวน
18 ศาสตร์ในสำนักครูวิศวามิตร ครั้นพระบิดาไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก
พระองค์จึงพยายามให้เจ้าชายสิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก อาทิ การสร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่อมีพระชนมายุครบ 16 ปี
ก็ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพา หรือนางยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะที่เป็นพระญาติฝ่ายมารดา
จากนั้นต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมาพระชนมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพาก็ได้กำเนิดพระโอรสนามว่า ราหุล (บ่วง)
 
 
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงเสด็จออกผนวช
 
เจ้าชายสิทธัตถะได้ตัดสินใจพระทัยออกบวช เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ พระองค์ก็ได้ทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงมีแนวความคิดเกิดขึ้นว่า ธรรมดาในโลกนี้มีของอยู่คู่กัน เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น มีทุกข์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย พระองค์ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงเรื่องมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน วิถีทางที่ช่วยให้พ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้และหนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสารก็จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ สิ่งที่พระองค์พบเห็นเรียกว่า เทวทูต (ทูตสวรรค์) จึงได้ตัดสินพระทัยออกผนวชในวันที่ราหุลน้อยประสูติไม่เท่าไหร่ พระองค์ก็ทรงม้ากัณฐะออกผนวชโดยมีนายฉันทะตามเสร็จ การเดินทางได้มุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ตัดพรเกศา และเป็นเครื่องทรวเป็นผ้าสาสพักตร์ พระองค์ทรงเปลื้องเครื่องทรงแล้วมอบให้นายฉันทะนำกลับพระนคร ซึ่งการออกบวครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (กาเสด็จ) ออกเพื่อคุณอันย่งใหญ่ ต่อมาสิ่งที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชแล้ว จึงมุ่งหน้าตรงไปที่แม่น้ำคย แคว้นมคธ เพื่อเป็นการค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ซึ่งเมื่อเรียนจบทั้งสองสำนักแล้ว ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้
 
 
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงตรัสรู้ (15 ค่ำเดือน 6)
 
ขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดา ได้ถวายข้าวมะธุปายาส (ข้าวที่หุงด้วยนม)
ที่ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยแล้วก็ทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา และได้อธิษฐานเสี่ยงทาย
ต่อมาในเวลาเย็นโสตถิยะถวายหญ้าคา 8 กำมือโดยปูลาดเป็นอาสนะ บริเวณโคนใต้ต้นโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา โดยทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
อีกทั้งพระองค์ยังทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแจ้งแล้ว
จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
 
 
 
ประวัติพระพุทธเจ้าช่วงปัจฉิมกาล
 
เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้เดินทางไปแสดงธรรม ณ ที่ต่างๆ
รวมถึงโปรดพระพุทธบิดาและประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ จากนั้นพระองค์ก็ได้ทรงปลงสังขารก่อนปรินิพานเป็นเวลา 3 เดือน
และช่วงเวลาก่อนปรินิพพานเพียง 1 วัน นายจุนทะ ก็ได้ถวายสุกรมัททวะ (หมูอ่อน) พระพุทธเจ้าได้เสวยจนมีอาการประชวร
พระอานนท์โกรธมาก พุทธองค์จึงทรงตรัสว่า “บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์)
เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ , ปรินิพพาน” นับแต่นั้น พระพุทธองค์ก็ทรงให้โอวาทเรื่อยมาจนมาถึงปัจฉิมโอวาท
และพระพุทธเจ้าก็ทรงดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยานของเหล่ามัลลกษัตริย์
เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา และทรงเทศนาสั่งสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานกว่า 45 ปี
 
 
 
 
 
ขอบคุณข้อมูล ......
http://guru.sanook.com/3937/
http://guru.sanook.com/3937/
 
http://www.learntripitaka.com/History/Buddhist.html
http://www.learntripitaka.com/History/Buddhist.html
 
www.bloggang.com
www.bloggang.com
 
https://th.wikipedia.org/wiki
https://th.wikipedia.org/wiki
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
     
 
 
   
  deenathaishop@gmail.com